วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

Data Visualization Week 2 :: web-based tool & google chart


Data Visualization Week 2


          ข้อมูลที่นำมาใช้ในการทดลองในครั้งนี้นั้นเป็นข้อมูลของ อัตราผู้ป่วยโรคสำคัญต่อหนึ่งแสนคน  ในปี ค.ศ.2012  และ ปี ค.ศ.2013 


Use google chart

          เป็นการเขียนโค้ดเพื่อสร้าง chart โดยการใช้ script ของทาง google chart ซึ่งทางเว็บนั้นได้มีโค้ดตัวอย่างไว้ให้สำหรับผู้เริ่มใช้ได้ทดลองกันด้วย ดังตัวอย่างการสร้างกราฟแท่งในครั้งนี้ได้มีการนำโค้ดของทาง google chart  มาประยุกต์ใช้ (https://developers.google.com/chart/interactive/docs/quick_start) ซึ่งทางเว็บได้แนะนำมาว่าหากผู้ใช้ต้องการสร้างสร้าง Pie chart ให้เรียกใช้ด้วยคำสั่ง google.visualization.PieChart แต่หากต้องการสร้าง Bar chart ให้เรียกใช้ด้วยคำสั่ง google.visualization.BarChart แทน

CODE ที่ใช้ในการสร้างกราฟ



ผลที่ได้จากการทดลอง

Use web-based tool

   plot.ly : http://plot.ly/

             ในส่วนของ plot.ly นั้นผู้ใช้ต้องทำการสมัครสมาชิกก่อนจึงจะสามารถเข้าใช้งานได้
             ขั้นตอนที่ 1 ทำการ add ข้อมูลลงในตาราง  กำหนดว่าข้อมูลชุดไหนอยู่แนวแกน X, แกน Y  รวมทั้งกำหนดรูปแบบของ chart ที่ต้องการใช้ในการแสดงข้อมูล เช่น Bar chart , Pie chart เป็นต้น


             ขั้นตอนที่  2 กำหนดสีกำหนดรูปแบบของการฟ


             ขั้นตอนที่  3 เมื่อได้กราฟตามความต้องการแล้วผู้ใช้สามารถ Export ออกไปใช้งานได้เลย



ภาพแสดงกราฟที่ได้จากการทดลอง



   Datawrapper : https://datawrapper.de/

            ในส่วนของ Datawrapper นั้นจะมีขั้นตอนการสร้าง chart ง่ายๆอยู่ 4 ขึ้นตอน


            ขั้นตอนที่ 1 ทำการ add ข้อมูล ซึ่งในที่นี้ผู้ใช้สามารถใส่ข้องมูลเป็นแบบ text  หรือแบบ CSV file ก็ได้


            ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบข้อมูลว่าถูกต้องหรือไม่  อีกทั้งยังสามารถกำหนดข้อมูลต่างๆ อย่างเช่นหน่วยของตัวเลขได้อีกด้วย



            ขั้นตอนที่ 3 ทำการเลือกรูปแบบกราฟที่ต้องการ  ซึ่งผู้ใช้สามารปรับแต่งรูปแบบของ chart ได้
     


ภาพแสดงกราฟที่ได้จากการทดลอง

            ขั้นตอนที่ 4 เป็นขั้นตอนของการ Publish & Embed ซึ่งในบางกรณีนั้นจะต้องทำการอัพเกรดก่อน (เสียค่าบริการ)




   Raw : http://raw.densitydesign.org/
            Raw เป็น web based ตัวหนึ่งที่ผู้ใช้สามารถลองเล่นได้โดยไม่ต้องสมัครสมาชิกให้ยุ่งยาก  ซึ่งขั้นตอนในการใช้นั้นก็ไม่ได้ต่างจาก web based ตัวอื่นๆเท่าใดนัก


            เริ่มแรกจากการใส่ข้อมูลลงไป


            จากนั้นก็ทำการเลือกรูปแบบ chart ตามแบบที่ผู้ใช้ต้องการ


             จัดการข้อมูลตามรูปแบบที่ผู้ใช้ต้องการให้แสดงผลบนกราฟ


            ทำการปรับขนาด ปรับสี ของ chart


            chart ที่ได้จากการทดลอง


            สามารถนำ chart ที่ได้ออกไปใช้ในรูปแบบของ Embed code ได้




   Many eyes : http://ibm.com/software/analytics/manyeyes             การสร้างกราฟใน web based ของ Many eyes นั้นสามารถทำได้ภายในสามขั้นตอนเท่านั้น  นั่นคือ  ใส่ข้อมูลสำหรับสร้าง chart => เลือกรูปแบบและปรับเปลี่ยน chart ตามที่ต้องการ => share!


       ขั้นตอนที่ 1  ผู้ใช้ต้องทำการ add ข้อมูลลงไป  เมื่อทำการใส่ข้อมูลเรียบร้อยแล้วทางเว็บจะมีการแสดงข้อมูลให้เราดูแบบเป็นตารางอีกด้วยซึ่งนั่นจะทำให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ง่ายขึ้น

รูปภาพแสดง :  ขั้นตอนการ add ข้อมูล

       ขั้นตอนที่ 2  เป็นการเลือกรูปแบบของ chart ที่ผู้ใช่ต้องการ  ซึ่งทางเว็บก็มีหลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้ 

รูปภาพแสดง :  chart รูปแบบต่างๆที่ทางเว็บมีให้ผู้ใช้ได้เลือก


         ขั้นตอนที่ 3  ทำการ share กราฟที่สร้างได้เพื่อให้เพื่อนคนอื่นๆของคุณได้เห็น

  รูปภาพแสดง :  ขั้นตอนการ share ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย


รูปภาพแสดง :  กราฟที่สร้างได้จาก web based ของ Many eyes 





ที่มา
1. http://social.nesdb.go.th/SocialStat/StatReport_Final.aspx?reportid=226&template=2R1C&yeartype=M&subcatid=17



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น